134: ถึงคราวที่ผมมีอาการ "ภาวะรีเฟ็กซ์ประสาทอัตโนมัติผิดปกติ" (Autonomic Dysreflexia, AD) ตอนที่ 1/5 อาการบ่งชี้ว่ามีอาการของโรคค AD

สวัสดีครับเพื่อนๆ เมื่อวานผมมีอาการร่วมหลายอาการที่น่าสนใจ แต่อาจจะน่าสนใจแบบน่ากังวลใจควบคู่กันไป โดยผมมีอการดังนี้ คือ เนื่องจากผมมีงานเร่งที่ต้องรีบทำ ทำให้ผมตัดสินใจไม่ขับถ่ายวันต่อวัน อย่างที่เคยทำ พอประมาณ 5 ทุ่ม เริ่มมีอาการ อวัยวะเพศหดตัว มีอาการคล้ายสายสวนตัน ซึ่งผมตรวจสอบสายสวนและถุงเก็บปัสสาวะแล้ว ไม่ใช่สาเหตุ (*ประเด็นสายสวนตัน ผมตั้งใจเขียนบทความชุดขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน) จึงเหลือเพียงอย่างเดียวคือ ต้องมีการถ่ายอุจจาระแน่นอน ผมนึกต่อไปอีกว่า กำลังจะถ่าย (อุจจาระ) มาจาก 2 ลักษณะไหน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของผม คือ 1) ท้องเสียจากอาหาร หรืออาการถ่ายท้อง และ 2) คล้ายอาการปวดถ่ายอุจจาระเหมือนคนปกติทั่วไป ซึ่งกรณีที่ 2 นี้ ผมไม่ได้รู้สึกหรือมีอาการแบบนี้มากว่า 16 ปี พึ่งมีอาการนี้ใน 2 ปีที่ผ่านมา

อาการสำคัญที่มาควบคู่กับ อวัยวะเพศหดตัว คือ อาการปวดบริเวณท้ายทอยคล้ายอาการปวดหัว ดังนั้นในลำดับแรกที่ผมตัดสินใจให้ภรรยาเร่งดำเนินการก่อนคือ เร่งสวนอุจจาระเพื่อให้ขับถ่ายของเสียออกให้หมด เพราะหลังทนปวดประมาณ 30 นาที พบว่ามีอุจจาระออกมาแล้วบางส่วน ระหว่างขับถ่าย จะปวดบริเวณท้ายทอยพอสมควร แต่ปรากฎว่าอวัยวะเพศหดตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมาถึงตรงนี้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเปลี่ยนสายสวน ภรรยาจึงรีบดึงสายสวนออก แต่อาการอวัยวะเพศหดตัวยังคงหดตัว ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนสายสวนได้ ในระหว่างที่ผมกำลังเผชิญกับอาการคล้ายๆ กับ ภาวะ AD ผมกับภรรยา สามารถผ่านสถานการณ์สำคัญนี้ ไปได้อย่างไร ตามอ่านตอนที่ 2/5 ต่อไปนะครับ






เหตุการณ์ที่ผมมีภาวะ AD นี้ เกิดขึ้นเมื่อล่าสุด 15 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา และที่ผมต้องเขียน 5 ตอน เพราะว่า ผมจะขอท้าวความย้อนหลังไปเมื่อ 2 ปีก่อน (ปี 2560) ที่ผมมมีอาการภาวะ AD รุนแรง ณ ความรู้สึกของผมในช่วงนั้น เพราะผมไม่เคยเป็นมาก่อน และไม่รู้จักอาการภาวะเอดี (AD) มาก่อน มันมีอาการรุนแรงมากๆ สำหรับคนที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ก่อนจะพบกันในตอนที่ 2/5 เพื่อนๆ อ่านภาพ 3 ภาพไปก่อนนะครับ ในตอนต่อๆ ไป ผมจะมาอธิบายเพิ่มเติมครับ และผมจะแบ่งปันวิธีการต่างๆ ที่ผมปฏิบัติ อาจเป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆ ที่เป็นคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังได้ลองไปทำตาม เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และในระยะยาวต่อไปครับ ก่อนจบสำหรับบทความพิเศษชุดนี้ ผมขอฝากแนวคิดสั้นๆ ไว้ตลอดทั้ง 5 ตอน สำหรับตอนที่ 1/5 ดังนี้

"เมื่อเรามีสิ่งใดแปลกใหม่เข้ามาในชีวิต และไม่รู้ ควรศึกษา ค้นคว้า ให้รู้ในสิ่งนั้นเสมอ"

สามารถดาวน์โหลดคู่มือการดูแลตัวเอง กลุ่มบาดเจ็บไขสันหลังระดับคอ ที่ลิงก์นี้
http://www.snmri.go.th/sci/download/tetra.pdf

พิมพ์เมื่อ 15 กรกฎาคม 2562

No comments:

Post a Comment

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook