70 : ทบทวนการพิทักษ์สิทธิ์ตั้งแต่ก่อนที่จะสนใจเขียนบทความ "การพิทักษ์สิทธิ์" (พิทักษ์สิทธิ์ ตอนที่ 2)

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ที่ติดตามบทความด้านการพิทักษ์สิทธิ์ ของผม ที่มีที่มาว่า ช่วงหลังนี้ผมเริ่มอยากจะศึกษาด้านสิทธิของผู้พิการ เพื่อจะได้นำมาแนะนำเพื่อนๆ จะได้นำไปใช้ เพื่อรักษาสิทธิ์ ทำให้สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ ครับ

ก่อนจะไปถึงสิทธิ์ในเรื่องอื่นๆ ผมคงจะต้องขอแนะนำลักษณะของผมให้ได้อ่าน และเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง ก็คือ ผมเป็นผู้พิการภายหลัง ตอนอายุ 29 ปี ทำให้ไดรับสิทธิ์ประกันสังคม กรณีประสบอุบัติเหตุ จนเป็นผู้ทุพพลภาพ รวมทั้งการได้รับสิทธิ์ชดเชยจากประกันภาคสมัครใจต่างๆ และด้วยความที่ว่า ผมเป็นคนชอบศึกษาในสิ่งรอบๆ ตัว ทำให้ผมได้พบในภายหลังว่า หลายเรื่องที่ผมศึกษา และได้ลงมือทำ จนเขียนเป็นบทความไว้หลายบทความในเว็บบล็อกนี้ เป็นเรื่องของการพิทักษ์สิทธิ์ ผมจึงอยากรวบรวมไว้ให้เป็นเรื่องเป็นราว ครับ

เริ่มจากตอนที่ผมรถคว่ำนั้น ผมได้ใช้สิทธิ์ของ พรบ.ภาคบังคับ ขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาล (ที่ใช้สิทธิ์ประกันสังคม) ควบคู่กับการใช้สิทธิ์ประกันสังคม ผมเคยเขียนบทความที่ว่า ผมจะต้องเลือกระหว่างสิทธิ์ประกันสังคม หรือสิทธิ์กองทุนเงินทดแทน ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ยังใช้สิทธิ์ของผมเกี่ยวกับประภันภัยรถชั้น 1 ภาคสมัครใจไปอีก 1 กรมธรรม์ ซึ่งอันที่จริงแล้วสามารถเก็บไว้ใช้ทีหลังได้ครับ ในที่สุดผมก็ต้องใช้สิทธิ์ ของความเป็นผู้ป่วย หรือที่เขาเรียกกันทั่วไปว่า "สิทธิ์ของผู้ป่วย 10 ข้อ" ในการขอย้ายโรงพยาบาลไปอีกแห่งหนึ่ง
.
เมื่อไปถึงโรงพยาบาลพญาไท 1 ผมได้รับการดูแลอย่างดี ซึ่งที่นี่ผมไม่สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ ผมจึงทราบว่าค่าใช้จ่ายต้องสูงมาก จึงขอทำเรื่องซื้อยาแก้อาการติดเชื้อจากตัวแทนโดยตรง โดยทำหนังสือขออนุญาตไปยังผู้อำนวนการ รพ. และผมยังได้รับสิทธิ์จากประกันอุบัติเหตุภาคสมัครใจอีก 2 กรมธรรม์
.

ขณะรักษาตัว คุณหมอแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด ซึ่งผมเป็นผู้ป่วยที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ แต่ผมกลับไม่ค่อยแฮปปี้กับผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด จึงคุยกับคุณหมอว่า ขอไม่รับการบำบัดจากเจ้าหน้าที่ฯ ที่ รพ. ก็ได้รับการอนุมัติว่าไม่ต้องรับการบำบัดฯ ประเด็นนี้ผมก็ถือว่า ตัวผมเองก็ได้ใช้สิทธิ์ ของความเป็นผู้ป่วย เช่นกัน ผมจำได้ว่า ช่วงนั้นผมศึกษาหาความรู้ อ่านหนังสือ และเอกสารเกี่ยวกับอาการป่วยทั้งจากความพิการ โรคและอาการติดเชื้อพอสมควร จนคุณหมอชมว่า ผมขยัน ในบางเรื่องให้นางพยาบาลฟังคำแนะนำ หรือคำขอของผม เพื่อไปให้คุณหมอพิจารณาอีกที เพราะผมรู้เรื่องของตัวผมเองดีพอสมควร


ผมคิดว่าถ้าตัวผู้พิการเองพยายามศึกษาหาความรู้อย่างถูกต้อง ทั้งจากการค้นคว้าของตนเอง หรือจากสื่อ หรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวิธีนี้ผมจะทำบ่อยๆ เมื่อสงสัย มีคำถาม ผมจะติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อที่จะได้รับคำตอบอย่างถูกต้อง ไม่ต้องคิดเอง หรือฟังเขาเล่ามา ข้อมูลอาจผิดเพี้ยนไป ในความคิดของผม ถ้าเรามีความรู้ในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิต่างๆ ก็จะทำให้เราสามารถพิทักษ์สิทธิ์ของตัวเราเองได้ครับ
.

ผ่านไป 2 ปี ผมต้องมาเรียกร้องสิทธิ์จากค่าความเป็นผู้ทุพพลภาพ จากปรกันภัยรถชั้น 1 ซึ่งผ่านมานาน จนต้องอ้างถึง "กรมการประกันภัย" ว่าถ้าไม่จ่าย ผมจะทำหนังสือร้องเรียน ทางบริษัทฯ จึงรีบจ่ายมา 1 แสนบาทตามกรมธรรม์ ซึ่งเหตุการณ์นี้ ถ้าผมไม่พิทักษ์สิทธิ์ตัวเอง ก็ไม่ได้รับการชดเชย

ผมหวังว่า เพื่อนๆ หรือผู้ได้อ่านบาทความนี้ คงได้ประโยชน์ด้านแนวคิด ของการศึกษาข้อมูลด้านสิทธิ์ ซึ่งก็จะทำให้สามารถมีความรู้ในการพิทักษ์สิทธิ์ได้ ไม่ใช่ว่าจะเกิดประโยชน์แค่ผู้พิการนะครับ ผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือคนปกติ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรื่องสิทธิ์ และการพิทักษ์สิทธิ์เช่นกัน ส่วนรายละเอียดต่างๆ ที่ผมเคยนำเสนอเป็นบทความไว้นั้น ผมก็เชื่อมลิ้งค์ไว้ตามคำหรือประโยคที่เกี่ยวข้องแล้วนะครับ คอยติดตามบทความด้านพิทักษ์สิทธิ์กันต่อนะครับ ว่าตอนหน้าจะเป็นเรื่องอะไร ครับ


ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
ผู้ทุพพลภาพมืออาชีพ
.
Preeda Limnontakul (SCI-C6)
Managing Director
mobile : 086-314-7866
Email : preeda.limnontakul@gmail.com


5 comments:

  1. อ่านแล้วให้ความรู้ดีมากครับ

    ReplyDelete
  2. ชวยๆกันถ่ายทอดครับ

    ReplyDelete
  3. ผมขอขอบคุณพี่มากนะครับที่ส่งข่าวต่างๆ ของคนพิการให้ผมอ่าน และได้รู้ในหลาย ๆ เรื่อง ขอบคุณมากนะครับพี่ปรีดา ขอให้พี่มีความสุขมาก ๆ นะครับ ขอบคุณครับ

    พิชัย

    ReplyDelete
  4. เห็นด้วยค่ะ ที่คนพิการต้องรู้และใช้สิทธิ์ของตัวเอง

    มีเรื่องหนึ่งที่เราเพิ่งรู้คือ คนที่อายุย่างเข้า60ปี(59ปีกว่าๆ)
    สามารถไปขึ้นทะเบียนกับฝ่ายพัฒนาชุมชน เพื่อขอรับเบี้ยผู้สูงอายุ(600บาท/เดือน)
    ณ สำนักงานเขต ที่มีชื่อตามทะเบียนบ้าน ไว้ก่อนได้ (กรณีอาศัยในกรุงเทพ)
    แล้วรอปีงบประมาณหน้า( เริ่มปีงบประมาณคือ เดือนตุลาคม ของทุกปี)

    อย่ามอง เป็นเงินเล็กๆน้อยๆ รวมแล้วก็ (600บาทx12เดือน= ..........)
    ถ้่าขึ้นทะเบียนช้า ก็อดตังค์ค่าขนมคนแก่ไปเลย

    ReplyDelete
    Replies
    1. จริงๆ แล้ว ผมกำลังเตรียมงานสำคัญอีกเรื่อง....
      แล้วถ้ามีคนพิการ+ผู้สูงอายุ 1 ล้านคน ที่เดิมเคยไม่ลงทะเบียน
      แต่แล้วมาลงทะเบียนเพื่อสร้าง "กองทุน 500 บาท" ขึ้นมาใหม่
      ปีละ 1,000,000x600x12 = ..............
      จะเกิดอะไรขึ้น กำลังดำเนินการอยู่ครับ

      Delete

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook