ความสำคัญของกายภาพบำบัด

คุณรู้ไหม ทุกวันนี้ ผมยังทำกายภาพบำบัดอยู่ เวลาก็ล่วงเลยมาแล้ว 5 ปี กับอีก 5 เดือน ถึงจะลดจำนวนวัน/สัปดาห์ ลง แต่กิจกรรม หรืองานที่ทำเป็นประจำทุกวันก็เหมือนทำกายภาพบำบัดไปด้วย ก็เป็นเพราะว่า ผมให้

" ความสำคัญของ การทำ กายภาพบำบัด "

ทราบอย่างนี้แล้ว ลองอ่านข้อมูลของผม เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดกันครับ

เริ่มจากช่วงแรกในโรงพยาบาลที่ 2 ที่ นักกายภาพบำบัดดูแลผมด้วยการทำ passive ให้กับร่างกายของผม (passive คือนักกายภาพบำบัดช่วยทำให้เราฝ่ายเดียว เช่น ขยับช่วงขา ขยับแขน เพื่อลดอาการเกร็ง) สอนเรื่องฝึกหายใจที่ท้อง (ผมไม่แน่ใจว่าคือบริเวณกระบังลมใช่หรือไม่ รอผู้รู้เข้ามา comment อยู่ครับ)

หลังจากที่แขนของผมมีอาการเกร็งลดลง ก็เริ่มทำกายภาพบำบัดแบบ active คือผมมีส่วนร่วมในการทำกายภาพบำบัดด้วย เช่น ในขณะที่นักกายภาพบำบัดดึงแขนผมเพื่อกางออก โดยมีศอกเป็นจุดหมุน ผมก็ต้องพยายามต้านแรงของนักกายภาพบำบัด

เมื่อคอของผมดีขึ้น ก็ต้องย้ายไปทำที่ ห้องฝึกกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีอุปกรณ์ และเครื่องมือ ครบชุด ทำให้ได้รับการทำกายภาพบำบัดได้ดีกว่า นักกายภาพบำบัดไปทำให้ที่ห้องพิเศษ

โปรแกรมในการฝึกแรกๆ ที่ห้องฝึกกายภาพบำบัด

1. ทำ active ด้วยการต้านแรง การกางแขนออก กับนักกายภาพบำบัด

2. ทำ active ด้วยการนอนหงาย ชูแขนขึ้นในแนวดิ่ง พับข้อศอกลงมา โดยทิ้งมือไว้ใกล้ๆ ศีรษะ จากนั้นให้พยายามยกแขนขึ้น เพื่อให้เหยียดตรง ยากมากครับ ยกเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น

3. ผมจะได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า ที่บริเวณแขน และขา

4. ผมต้องฝึกยืน บนเตียงฝึกยืน หรือ เตียง Tilt โดยเริ่มจากนอนหงายราบ และค่อยๆ กดรีโมทให้เตียงค่อยๆ ตั้งขึ้น จุดหมุนคือบริเวณกึ่งกลางเตียง แค่ 30 องศาผมก็หน้ามืดแล้วครับ เห็นดาวเต็มไปหมด

บางครั้งก็ได้ 45 องศา แต่น้อยครั้งครับ ส่วนใหญ่จะไม่ไหว ต้องรีบหมุนลง จนย้ายโรงพยาบาลก็ไม่เกิน 45 องศาครับ ระหว่างการยืน ผมจะลดปัจจัยที่ทำให้หน้ามืดด้วยการดื่มนม หรืออาหารว่างก่อนการยืน ซึ่งก็ช่วยได้เหมือนกัน

5. ผมต้องฝึกการหายใจด้วยการเป่าลมจากปาก เข้าอุปกรณ์ tri-flow

6. เนื่องจากกลัวว่าจะกระทบกับการผ่าตัดที่คอ จึงแค่ออกแรงที่คอในลักษณะ กดศีรษะลงบนเตียงขณะนอนหงาย

7. พยายามหันหน้าไปทางด้านซ้าย และขวา ช้าๆ

8. ยกแขนขึ้น-ลง เพื่อฝึกการเคลื่อนที่ของหัวไหล่

9. ได้รับการดัดนิ้ว (ถือว่าเป็น passive)

10. ได้รับการทำ passive ช่วงขาทั้งกางออก และยกขึ้น-ลง งอเข่า เป็นต้น

ผมจำได้เท่านี้ แต่ก็น่าจเกือบครบ หรือครบ เบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ออกจากห้อง จนกลับมาที่ห้องพิเศษ ก็ 2 ชั่วโมงพอดี

ตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่ ดูว่าช่วงเวลาที่ได้ทำกายภาพมจะพอใจมากที่สุด เพราะมีความรู้สึกถึงความจริงใจของนักกายภาพบำบัด และผู้ช่วยที่มาดูแล ไม่ว่าจะคนไหนก็ตาม

ผมให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ ไม่น่าเชื่อว่า ผมจะเป็นผู้ป่วยที่เป็นกรณี spinal cord injury ระดับ C6-7 ในรอบ 6 ปี ของโรงพยาบาลนี้ มิน่าล่ะเจ้าหน้าที่ของที่นี่จึงดูแลผม เหมือนไม่มีประสบการณ์ (ยกเว้นเรื่องการทำกายภาพบำบัดนะครับ เพราะที่นี่จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ผมพึงพอใจ เพราะเป็นเรื่องแปลกที่ พอผมย้ายไปที่ โรงพยาบาลพญาไท 1 แล้วผมกลับไม่ขอรับการทำกายภาพบำบัดจากที่นี่ ไม่ใช่ว่าพวกเขาทำไม่ดี ผมไม่รู้หรอกว่ามาตรฐานคืออะไร ดีไม่ดีเป็นอย่างไร แต่เพราะผมไม่พึงพอใจ จึงไม่ทำ)

และช่วงเวลาที่ผมให้ความสำคัญกับการทำกายภาพบำบัด ก็ต้องแลกกับ การขยายขนาดของแผลกดทับ เพราะผมไม่รู้พิษสง ความร้ายแรงของมัน

กล่าวคือ เนื่องจากผมนอนหงายที่ห้องพิเศษ 6-8 ชั่วโมง แต่ผมก็อยากมาทำกายภาพบำบัดมากๆ ดังนั้นลองนึกถึงท่ากางขาซิครับ แผลคงอักเสบมากขึ้น แถมใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง ก็คือได้อย่าง-เสียอย่าง แต่จริงๆ แล้วผมมองว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของทีมพยาบาล ทีไม่ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพราะกลัวผม ไม่รู้จะกลัวผมไปทำไม

มีเรื่องตลกแทรกอีกเรื่องแล้วครับ รู้ไหมครับทีมพยาบาลที่นี่กลัวผมมาก ถึงขนาดว่าผมเคยกำลังสอนงานน้องสาวอยู่ ด้วยกล้องอัดวีดีโอ sony ปรากฏว่าพวกนางพยบาบาล และผู้ช่วยหลบกันใหญ่ ผมมารู้ทีหลังว่า พวกเธอกลัวว่าผมจะถ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพราะมีข่าวว่าจะมีญาติคนไข้ ฟ้องร้องโรงพยาบาล ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีคนฟ้องจริงๆ แต่ไม่ใช่ผม เป็นห้องข้างๆ ก็สมควรครับ เพราะเขาเข้ามารักษาดีๆ ด้วยโรคปวดหัว กลับกลายเป็นติดเชื้อรุนแรงจนเป็นอัมพาตทั้งตัว กรอกตาได้อย่างเดียว พูดก็ไม่ได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ผมก็ไม่ทราบรายละเอียดอะไรของผู้ป่วยกรณีนี้หรอกครับ ลำพังตัวเองยังจะเอาตัวไม่รอด

ผมใกล้จะย้ายโรงพยาบาลแล้วครับ เพราะหมอบอกผมว่า ผมติดเชื้อรอบที่ 4 แล้ว ครั้งนี้เขาจะใช้ยาแรงที่สุด ถ้ารักษาไม่ได้ หมอก็หมดทาง เป็นไงครับชีวิตผม ผมเริ่มเซ็งแล้ว ไหนจะติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ ไหนจะแผลกดทับที่ก้นกบที่ก็ติดเชื้อเหมือนกัน แถมสีเริ่มเขียว ถ้าจะยู่ที่นี่ต่อไม่ได้แล้ว

คราวหน้าครับ คงถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ผมตัดสินใจย้ายโรงพยาบาลครับ



ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-314-7866
email : preeda.limnontakul@gmail.com
update : April 8, 2007

5 comments:

  1. เมื่อ พ. 18 เม.ย. 2550 @ 21:32 [229744] [ลบ]
    สวัสดีค่ะ
    ตามมาอ่านและให้กำลังใจค่ะ

    ReplyDelete
  2. เมื่อ พ. 18 เม.ย. 2550 @ 21:39 [229754] [ลบ]
    เล่าได้ละเอียดมากเลยค่ะ พี่หนิงอ่านแล้วได้ทบทวนและเพิ่มเติมความรู้เยอะเลยค่ะคุณปรีดา พี่หนิงเคยอุบัติเหตุต้องผ่าเข่า หมอห้ามลงน้ำหนักอยู่ 10 wks และทำกายภาพบำบัดทั้ง passive และactive ค่ะ

    ขอบพระคุณนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

    ReplyDelete
  3. เมื่อ พฤ. 19 เม.ย. 2550 @ 22:27 [231284] [ลบ]
    สวัสดีค่ะคุณปรีดา

    ตามมาให้กำลังใจค่ะ ราณีก็เห็นความสำคัญของกายภาพบำบัดค่ะ เพราะในชีวิตต้องทำกายภาพบำบัด 2 ครั้ง

    ครั้งแรก กล้ามเนื้อคออักเสบ ทานอาหารอะไรไม่ได้เลยอาเจียนออกหมด น้ำหนักลดไปห้ากิโล แทบตาย ไข้ขึ้นเป็นอาทิตย์เลยค่ะ ต้องทำกายภาพเกือบ สองอาทิตย์

    ครั้งที่สอง กระดูกแขนแตก ก่อนรับปริญญา 1 เดือน กับอีก1 อาทิตย์ ต้องใส่เฝือก หนึ่งเดือน ทำกายภาพอีก 1 อาทิตย์ และรับปริญญาด้วยความทราน อิ อิ เล่าให้ฟ้ง คนเราต้องสู้ค่ะ และราณีก็รู้ว่าคนอย่างคุณต้องไม่ยอมแพ้แล้วค่ะ

    ReplyDelete
  4. เมื่อ อา. 29 เม.ย. 2550 @ 01:55 [242025] [ลบ]
    ชื่นชมคนไข้แบบคุณปรีดาจังค่ะ ที่รู้จักรักษาสิทธิของตัวเอง นี่แหละที่จะมีส่วนช่วยให้โรงพยาบาลต้องปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และเรื่องราวเหล่านี้ควรได้รับการบอกเล่าจริงๆนะคะ เพราะนอกจากจะได้ช่วยยกระดับการเอาใจใส่ให้ถูกต้องเป็นธรรมแล้ว ยังทำให้คนอื่นระมัดระวังและรู้จักดูแลสิทธิตัวเองด้วย

    ขอบคุณคุณปรีดาที่นำมาเล่าอีกครั้งค่ะ และเล่าได้ดีเยี่ยม เรียกว่าเป็นกลางได้อย่างน่านับถือจริงๆค่ะ

    ReplyDelete
  5. เคยเข้าไปเห็นอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องกายภาพบำบัด ที่รพ.ศิริราช หลากหลายค่ะ อ้อ..มีห้องประคบร้อนด้วย
    การทำกายภาพบำบัด = slow life

    ที่คุณพยาบาลและผู้ช่วยกลัว น่าจะเป็นเพราะเวลาคุณทำหน้าเฉยๆ ไม่ยิ้ม ดูดุจริงๆ (อย่างว่าใครไม่ได้อยู่ในสภาพร่างกาย+จิตใจแบบนั้น ก็คงไม่เข้าใจ)

    ReplyDelete

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook