54 : สายสวนตัน ติดเชื้อ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วงพฤษภาคม - มิถุนายน ปี 2551 ตอนที่ 1

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ทุกท่านที่คอยติดตามอ่านบทความประสบการณ์ตรงของผมเกี่ยวกับผู้ทุพพลภาพ หรือผู้พิการรุนแรง ซึ่งครั้งนี้ผมมีความจำเป็นต้องนำเรื่องเดิมๆ มาลงซ้ำเพียงแต่เป็นประสบการณ์ใหม่เพิ่มเติม จึงอยากให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ

คงต้องเริ่มเรื่องจากว่า ผมกำลังรักษาตัวเกี่ยวกับเรื่องโรคทางด้านผิวหนังอยู่ ซึ่งก็มีบทความเดิมที่ผมยังเขียนบทความไว้ในตอน 48 : ข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับอาการตุ่มน้ำใสตามมือ-เท้า ขณะนี้ก็ยังไม่จบเลยนะครับ และช่วงเวลาเดียวกันนี้ ผมกมีเรื่องมาแทรกอีก 2 เรื่องคือ แผลกดทับ (บังเอิญ) ที่ก้น ซึ่งในความคิดของผมไม่ได้ร้ายแรงอะไร เพราะเรารู้ตัวตลอดว่าเป็นระดับไหน สาเหตุคืออะไร และมีวิธีใหม่ในการรักษา แต่ผมอาจจะต้องแบ่งเป็นสัก 3-4 ตอน ลองตามอ่านกันดูนะครับ ขอเคลียร์งานตัวอื่นก่อนครับ

อีกเรื่องที่เข้ามาแทรกก็คือ การที่สายสวนของผมต้องตันบ่อยๆ น่าจะเป็นเพราะการติดเชื้อ เพราะตะกอนเยอะมากครับ ดังนั้นในบทความนี้ก็ตรงเข้าประเด็นเลยนะครับ

ในอดีตจากประสบการณ์เกี่ยวกับสายสวนตัน ของผม หลักๆ แล้วคือ เกิดจากการไม่ปลอดเชื้อขณะมีการเปลี่ยนสายสวน ซึ่งผมผ่านเหตุการณ์ช่วงสำคัญๆ ที่ตะกอนเยอะกๆ มาได้หลายครั้ง เนื่องจากถ้าเป็นตะกอนมากๆ แล้ว ต้องใช้เวลาหลายวัน หรืออาจเป็นเดือนถึงจะดีขึ้น เช่น พี่เลี้ยง ที่คอยดูแล แต่เปลี่ยนสายสวนไม่เป็น ผมก็สอนพี่เขาเลย กว่าจะทำจนผมถูกเปลี่ยนสายสวนแล้ว ไม่มีตะกอนล่อเข้าไปตั้ง 3 เดือน ซึ่งบางครั้งเปลี่ยนเช้า แล้วเย็นจำเป็นต้องเปลี่ยนก็มี คือวันเดียวเปลี่ยนสายสวน 2 ครั้งเลยครับ

1 ในวิธีที่ผมต้องการให้พี่เลี้ยง เปลี่ยนเป็น มีความมั่นใจในการเปลี่ยนสายสวน คือสั่งให้เปลี่ยนบ่อยๆ ซึ่งโดยปกติ ผมต้องเปลี่ยนทุก 10-15 วันอยู่แล้วครับ ผมยอมเสียค่าช้จ่ายด้านเวชภัณฑ์เพิ่ม และสั่งให้เปลี่ยนทุก 7 วัน ก็ทำให้พี่เลี้ยงคล่องขึ้น ไม่ใช่นานๆ ทำที ลืมที พอดีกันติดเชื้อ ส่งผลให้ตะกอนเยอะ และจต้องเสียค่าใช้จ่ายตามมาอีกมากมายโดยไม่รู้ตัว ตามตำรา "เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย" จึงต้องหาวิธีสอนเขาให้เกิดความชำนาญ และไม่พลาดขั้นตอนสำคัญๆ ที่ต้องปลอดเชื้อ

ดังนั้นครั้งนี้ หรือช่วงนี้ ซึ่งก็น่าจะ 3 เดือนแล้ว ที่ผมมีตะกอน อาจจะมาจากสาเหตุข้างต้นเช่นกัน ซึ่งน่าจะมาจากขั้นตอนการเปลี่ยนสายสวนไม่ปลอดเชื้อ เท่าที่ผมสังเกตุดู มีหลายขั้นตอนที่เป็นโอกาสให้เกิดการติดเชื้อได้ครับ แต่โดยส่วนตัว อาจเป็นไปได้ว่า ตัวผมเองก็พอรู้ เพราะศึกษาเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ตอนที่เป็นใหม่ๆ แล้ว จึงไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่ คือเรียกว่ารู้ว่ามันยังไม่อันตราย และที่มันเป็นอย่างนี้ ก็เพราะว่า นางพยาบาลที่คอยดูแลเรื่องเปลี่ยนสายสวนให้ผมตลอด 6 ปีกว่ามานี้ น่าจะกำลัง In Love อยู่เลยหายไปเลย มือถือก็ติดต่อไม่ได้ สงสัยต้องไปตามถึงโรงพยาบาลพญาไท 1

ช่วงนี้เองที่ผมต้องพบกับความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสนไปหมด เพราะถุงฉี่ (ถุงเก็บปัสสาวะ) ที่ซื้อมาใช้งาน มันน่าจะรั่ว แถมรั่วซะเกือบหมดเลย เปลี่ยนแล้ว เปลี่ยนอีก แต่ว่ารั่วบนนะครับ แล้วเรารู้ได้อย่างไร ง่ายนิดเดียวครับ (ลองอ่านพื้นฐานง่ายๆ ที่ตอน 50 : "ถุงฉี่" อุปกรณ์ใกล้ตัวที่อาจทำร้ายเราอย่างคาดไม่ถึง ) คือมันมีฟองอากาศขึ้นมาตามสายตลอด นานๆ เข้า ก็เลยต้องมานั่งวิเคราะห์ว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร เช่น

ใช้ความรู้เรื่องอากาศต้องลอยขึ้นที่สูงเสมอ เพื่อนำมาประยุกต์การไล่สายยางบริเวณถุงฉี่ ไม่ให้มีตะกอนมาค้าง เป็นต้น

เอาเทปไมโครปอมาแปะทับตามตะเข็บของถุงฉี่ เพื่อไม่ให้อากาศเข้า และรอเวลาเปลี่ยนสายสวน

เทปัสสาวะไม่หมดซะทีเดียว เหลือไว้เพื่อไม่ให้อากาศย้อนเข้ามาตามท่อปล่อยฉี่ได้

โทษความผิดให้กับ "ถุงฉี่" ที่ออกแบบ "ท่อปล่อยฉี่" ไม่ดี ในรุ่นที่ผมใช้ เพราะรุ่นที่ต้องกดเปลี่ยนซ้ายไปชวา หรือขวาไปซ้าย หาซื้อยากมากๆ

ครับ อย่างไรก็ดี ถ้าผมไม่ติดเชื้อ และปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะไม่เป็นตะกอน เรื่องยุ่งๆ ก็คงไม่เกิด ซึ่งในตอนหน้าผมจะมาพิมพ์ให้ได้อ่านกันครับ ว่าสิ่งที่เกิดกับผม มันเป็นเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดกับผมแบบเป็นเรื่องเป็นราว ก็นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ครับ

ตอนนี้ชักยาวแล้วครับ ผมขอจบแบบไม่มีปี่ ไม่มีขลุ่ยก่อนนะครับ

ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
ผู้ทุพพลภาพมืออาชีพ

Preeda Limnontakul (SCI-C6)
Managing Directormobile : 086-322-9307
Email : preeda.limnontakul@gmail.com
PWD Outsource Managrment Co., Ltd.
70/95 mu 5, Pakkred-Changwattana Rd.,
Pakkred, Pakkred, Nonthaburi, 11120
Tel.: 02-960-6083, Fex.: 02-582-1759
Website : www.pwdom.com

1 comment:

  1. นับถือคุณนะครับ

    หน้าใน บอกความสวย

    หน้านอก บอกความดี

    หน้าที่ บอกความสามารถ

    สุดยอด

    ReplyDelete

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook