การรักษาแผลกดทับ

ครั้งนี้ผมขอพูดถึง " การรักษาแผลกดทับ " จนหาย และการระวัง-รักษา จนถึงปัจจุบัน

ผมเป็นแผลกดทับจาก รพ. ที่ 2 เมื่อมาถึงพญาไท 1 จึงได้รับการรักษาจนดีขึ้นมาก และหายสนิทที่บ้าน ดังนั้นผมขออธิบายตามลำดับดังนี้






ภาพวาดตำแหน่งของแผล ที่บริเวณก้นกบ ขนาดประมาณ 3 นิ้ว


1. เมื่อผมมาถึงที่พญาไท 1 ผมได้รับการแต่งแผล โดยตัดเนื้อตายรอบๆ แผล ที่ห้องผ่าตัดเล็ก เพื่อทำให้ผิวหนังมีโอกาสขยาย มาปกคลุมเนื้อได้

2. ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ (Normal Saline Solution) เข้มข้น 0.9 กรัม/100 มิลลิลิตร เพราะจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ


3. ใช้ผ้าก๊อตบางๆ ปิดแผล ด้วยไมโครพอร์ ซึ่งเป็นเทปแต่งแผลชนิดเยื่อกระดาษ ที่ไม่ระคายเคืองผิว แต่ใช้ได้สักพัก ก็เลิกใช้ ใช้เพียงผ้าห่มปิดคลุมไว้เท่านั้น


4. ทานไข่ขาว วันละ 3 ฟอง เพื่อให้อะบลูมินจากไข่ขาว ช่วยให้ผิวหนังเร่งสร้างเนื้อเยื่อ


5. เมื่ออาการไข้ จากการติดเชื้อไม่ดีขึ้น จึงผ่าตัดปิดแผล เร็วกว่ากำหนด โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้





A. กรีดหนังรอบๆ แผล แล้วดึงเข้ามารวมที่กึ่งกลางแผล เย็บหนังเชื่อมถึงกัน กับแนวกรีดเดิม คือเป็นการยืดผิวหนังนั่นเอง ซึ่งวิธีนี้ ทำให้ไม่ต้องนำผิวหนังบริเวณอื่นมาปิดแผลกดทับ




B. แต่เมื่อเย็บผิวหนังที่ถูกยืดแล้ว ผมเข้าใจว่า คุณหมอคงมีเหตุผล ด้านเทคนิค หรืออะไรก็ไม่ทราบ เช่น ขณะผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดเรื่องการยืดผิวหนัง จึงทำให้มีช่องว่างตรงกลางตามภาพ

6. แต่หลังจากดูแลรักษาต่อเนื่อง รวมถึงทานไข่ขาวทุกวัน ทำให้เนื้อเยื่อเข้ามาทดแทนจนเต็ม แต่เมื่อกดแผลตรงกลางจะพบว่า ยังคล้ายๆ ว่ายังบุ๋มอยู่นิดหน่อย

7. หลังผ่าตัดอาการติดเชื้อยังไม่ดีขึ้น จึงดึงด้ายเย็บแผลไปเพาะเชื้อ เพื่อตรวจชนิดของเชื้อ

8. ขณะรักษา ก่อนผ่าตัด และหลังผ่าตัด ได้รับการรักษาอาการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ โดยฉีดเข้าไปผสมกับน้ำเกลือที่ผมได้รับทางสายยาง จนอาการติดเชื้อดีขึ้น และเปลี่ยนเป็นยาเม็ด จนเลิกทานยา ปัจจุบันก็ไม่ไดทานยาฆ่าเชื้อแบบเม็ด

9. ตลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาล และ2 เดือนแรกที่กลับมาอยู่ที่บ้าน ผมนอนตะแคงซ้าย-ขวา ตลอด เพื่อไม่ให้กระทบกับแผล และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อผิวหนัง

10. เตียงลมมีความสำคัญมาก เพราะต้องนอนตะแคง ถ้าเป็นเตียงธรรมดา คงจะทรมานมากกว่านี้

11. ดูแลเรื่องการทานอาหารให้ดี ไม่ทำให้ท้องเสีย เพราะถ้าอุจจาระเป็นน้ำ และมีเชื้อโรคมากกว่าปกติ อาจทำให้แผลติดเชื้อ หรือต้องนำเทคนิคเอาบลูแพด มาปิดแผลเพื่อไม่ให้อุจจาระโดนแผล

12. เมื่อแผลเริ่มดีขึ้น ให้ลดปริมาณการทานไข่ขาวลง เหลือ 2 และ 1 ตามลำดับ โดยขอคำแนะนำจากแพทย์

ครั้งต่อไปผมขอธิบายเกี่ยวความเสี่ยงต่อโรคต่อเนื่อง จากการเป็นผู้ทุพพลภาพครับ

ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-314-7866
email : preeda.limnontakul@gmail.com
update : April 20, 2007

4 comments:

  1. เมื่อ พ. 02 พฤษภาคม 2550 @ 00:45 [245823] [ลบ]
    สวัสดีค่ะคุณปรีดา

    เขียนได้ละเอียดมากเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมาก เพราะไม่เคยรู้มาก่อนเลยค่ะ เตียงลมช่วยในการยืดหยุ่น ได้ดีกว่าค่ะ ปัจจุบันราณีคาดว่าแผลคงหายแล้วแน่เลยค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ ขอบคุณที่ให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้อ่านค่ะ

    ReplyDelete
  2. ร.วัชรากร วันที่ : 28/07/2007 เวลา : 20.39 น.
    http://www.oknation.net/blog/watcharakorn



    เมื่อรักษาหายแล้วก็ต้องระวังเวลานอนต้องพลิกตัวบ่อยๆนะคะ

    ReplyDelete
  3. zuni วันที่ : 07/08/2007 เวลา : 11.03 น.
    http://www.oknation.net/blog/zuni



    คิดว่ารูที่หมอเปิดไว้น่าจะเอาไว้ทำความสะอาดแผล ให้มีทางระบายออกของน้ำเลือดน้ำเหลือง ซึ่งในที่สุดแผลก็ตื้นขึ้นและปิดสนิทเองค่ะ

    ReplyDelete
  4. http://ton2216.blogspot.com/

    ดุของยายผมโหดมากๆ

    -*-

    ReplyDelete

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook