เรื่องบนเตียง เรื่องไม่ง่าย

" เรื่องบนเตียง เป็น เรื่องไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก " ครับ

คราวนี้ ผมขออธิบาย รายละเอียด ขั้นตอน ที่เกี่ยวข้องกับเตียง ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ สนิทสนมกับผมมากเป็นพิเศษ เพราะต้องอยู่กับ "เตียง" แทบจะ 24 ชั่วโมง
ตอนผมอยู่ที่ รพ. ทุกแห่งจะนอนบนเตียง ที่มีรีโมทคอนโทรล แต่เมื่อกลับบ้านผมใช้เตียงหมุน เพราะประหยัดไว้ก่อนครับ

โดยปกติ ผู้ป่วยที่ต้องนอนตะแคงซ้าย และขวา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเดียวกับผม คือทุกพลภาพ หรือหมดสติ แพทย์จะสั่งให้นอนในลักษณะนี้ โดยสลับ หรือเปลี่ยนท่าทุก 2 ชั่วโมง ถ้ามีแผลกดทับที่ก้น ก็อย่านอนหงายนานๆ เท่านั้น แต่สามารถหงายชั่วคราวเพื่อจะตะแคงตัวได้

สังเกตุได้ว่า ถ้านอนตะแคงขวา ก็มักจะชิดด้านขวาของเตียง และนอนตะแคงซ้าย ก็ต้องชิดด้านซ้ายของเตียง

ทีนี้ ลองมาดูกรณีของผมบ้าง เมื่อมาถึงพญาไท 1 ผมต้องนอนท่านี้ตั้งแต่เข้าโรงพยาบาล จนออกเลยครับ

เวลาผมนอนตะแคงขวาต้องชิดทางด้านซ้ายของเตียง เพื่อให้เหลือพื้นที่กลางเตียง เมื่อเวลาที่จะต้องตะแคงซ้าย ก็จะต้องนำหมอนมาวางกลางเตียง เพื่อให้ผมนอนคว่ำทับหมอน คือใช้หมอนเป็นตัวช่วยพลิก เพราะผมมีแผลที่ก้นค่อนข้างใหญ่ หมอจึงไม่อยากเกิดการกดทับที่แผลอีก

ต่อมา ผมจะขออธิบายว่า บนพื้นเตียงมีอะไรบ้าง ถูกวางไว้กี่ชั้น แต่ละส่วนมีหน้าที่อะไรบ้างและปัจจุบันผมปูเตียงอย่างไร
จากรูปข้างบน แบ่งได้ดังนี้
1. เป็นพื้นเตียง
2. เป็นเบาะแข็ง เช่นเบาะใยมะพร้าว
3. เป็นเตียงลม มีหน้าที่เฉลี่ยน้ำหนักที่กดทับเวลานอน และนั่ง
4. เป็นแผ่นพลาสติกที่มีไว้สำหรับกรณีที่ถ่าย หรือเปียกจากการเช็ดตัว ทำความสะอาด
5. เป็นผ้าปู ซึ่งทาง รพ. จะเปลี่ยนทุก 2 วัน
6. เป็นผ้ายก ใช้สำหรับเวลาจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยจับบริเวณมุมทั้ง 4 มุม แล้วยกพร้อมๆ กัน
แต่หลังจากที่มีการพัฒนารูปแบบ การใช้งาน ปัจจุบันผมได้ตัด แผ่นพลาสติก (ข้อ.4) และผ้ายก (ข้อ.6) ออก เพราะหลังจากที่น้องๆ ที่ดูแลมีการฝึก หรือดูแลจนชำนาญ ทำให้การทำความสะอาดตัวไม่มีน้ำหกเลอะเทอะ ส่วนร่างกายผมก็ไม่ได้ถ่ายเรี่ยราด จึงไม่จำเป็นต้องใช้ ที่สำคัญผมไม่ได้อธิบายไว้ใน 6 ข้อ ก็คือ "แผ่นรอง" หรือที่เรียกว่า blue pad กันเลอะ(ที่ผมใช้มีสีขาว) แค่นี้ก็พอแล้ว
แผ่นพลาสติกนี้ ยังทำให้ร้อน เพราะระบายอากาศไม่ได้ จึงสมควรนำออก เมื่อภาพรวมในเรื่องการขับถ่าย และเช็ดตัวดีขึ้น สุดท้ายคือผ้ายก ที่นำออกเพราะผมแข็งแรงขึ้นมาก สามารถมีส่วนร่วม และช่วยขยับตัวได้
เคล็ดลับอีกประการหนึ่งในการดูแลช่วงขาของผม ให้ใกล้เคียงกับคนปกติ คือการประคองช่วงขาให้อยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด โดยผมจะอธิบายส่วนประกอบ และหน้าที่ดังนี้
1. คือผ้าห่มที่นำมาม้วน คล้ายขนมปังแยมโรล มีหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้ขาที่เกร็ง และมักจะดีดเข้าหากัน ซึ่งในวงการกายภาพบำบัด มีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง แต่เราไม่จำเป็นต้องซื้อ ใช้วิธีนี้ก็ได้เช่นกัน
2. หมอนใบเล็กๆ มีไว้ลองใต้ข้อเท้า เพื่อไม่ให้ส้นเท้าสัมผัสกับพื้นเตียงโดยไม่มีอะไรช่วยประคอง จะทำหน้าที่ร่วมกันกับหมอนหมายเลข 3 และ 5 เพื่อไม่ให้เท้าแบะข้าง คือไม่แบะไปข้างใดข้างหนึ่ง
3. หมอนหนุนหัวใบยาว ที่ไม่ใช้ใบสั้นแบบปกติ ที่ใช้ทั่วไป เพราะหมอนใบยาวตลอดติดกัน ทำให้ใช้งานง่าย ไม่ต้องกังวลว่าจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง รวมทั้งเมื่อนำหมอนหมายเลข 5 มาหนุนเสริม ก็จะหนุนได้ง่าย มีหน้าที่ประคองเท้าร่วมกันกับหมอนข้อ 2 และข้อ 5
4. เป็นผ้าห่มที่ทำหน้าที่เหมือนข้อ 1 ที่ผมยกขึ้นมาเป็นอีกข้อ เพราะว่า อาจจะเหมาะสำหรับบางคนที่ต้องใช้ผ้าห่มถึง 2 ผืนก็เป็นได้ โดยวางตามแนวยาวบริเวณระหว่างหัวเข่า และอีกผืนวางตามขวางบริเวณระหว่างน่อง ปัจจุบันผมใช้แค่ผืนเดียว
5. เป็นหมอนหนุนหัว ขนาดปกติทั่วไป ที่มาเสริมหมอนหมายเลข 3 เพื่อประคองเท้า เพราะถ้าเท้าตั้งอยู่บนองค์ประกอบของหมอนทั้งหมดไดแล้ว จะทำให้ช่วงขาทั้งหมดถูกลักษณะ เหมือนเรานอนหงาย เท้าไม่แบะ และยังทำหน้าที่สำคัญ คือเป็นการเพิ่มความหนาของหมอน คือดันตัวผม ไม่ให้รูดไปใกล้ท้ายเตียง ก็จะทำให้ตำแหน่งก้นอยู่ที่เดิม เวลานั่ง
จริงๆ ผมอยากเขียนถึงเรื่องอื่นๆ ด้วยในตอนนี้ แต่เห็นว่าเนื้อหาเยอะแล้ว ขอจบก่อนครับ
ตอนหน้าขอเป็นเรื่องเกี่ยวกับแผลกดทับและ การผ่าตัดครับ
.
ขอบคุณครับ
mobile : 086-314-7866
update : April 15, 2007

11 comments:

  1. เมื่อ จ. 30 เม.ย. 2550 @ 00:17 [243068] [ลบ]
    สุดยอดค่ะท่านปรีดา

    ได้ความรู้เพิ่มเติมมากค่ะ

    เคยดูแลคุณพ่อที่อยู่บนเตียงประมาณ 7 เดือน ค่ะ

    ขอให้ท่านมีความสุขนะคะ

    ReplyDelete
  2. เมื่อ จ. 30 เม.ย. 2550 @ 06:24 [243161] [ลบ]
    หลังจากอ่านไปแล้ว 16 ตอน
    ก็มาตามอ่านอีก 8 ตอนค่ะ
    ประทับใจและชื่นชมความสามารถในการถ่ายทอด+สื่อสารของคุณปรีดา (ชื่อคล้าย ๆ น้องสาวของดิฉัน เขาชื่อ ปรีลดา ค่ะ)
    ชอบทุกตอนที่คุณต๋องเขียน และขอบคุณสำหรับคุณค่าและประโยชน์ที่คุณต๋องมอบให้กับสังคมในวันนี้ค่ะ
    ขอบคุณมากจริง ๆ... พี่ขอเป็นแฟนประจำ blog นี้นะคะ และว่าง ๆ จะไปเรียนรู้เว็บไซต์ที่คุณต๋องกรุณาแนะนำค่ะ...ชอบมาก...

    ReplyDelete
  3. เมื่อ จ. 30 เม.ย. 2550 @ 08:01 [243172] [ลบ]
    ขอบคุณมากเช่นกันครับ
    ประทับใจและชื่นชมความสามารถในการถ่ายทอด+สื่อสารของคุณปรีดา .. เช่นเดียวกับที่คุณกุ้ง ปวีณา ธิติวรนันท์ เธอบอกครับ.

    ReplyDelete
  4. เมื่อ จ. 30 เม.ย. 2550 @ 08:36 [243197] [ลบ]
    สวัสดีค่ะคุณปรีดา :)

    ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลที่ละเอียดชัดเจน และเป็นประโยชน์อย่างยื่ง ชอบภาพวาดมากเลยค่ะ ขอชื่นชมในน้ำใจและกำลังใจของคุณปรีดาอย่างยิ่งนะคะ

    ReplyDelete
  5. เมื่อ จ. 30 เม.ย. 2550 @ 13:19 [243563] [ลบ]
    แวะเข้ามาเยี่ยมครับ

    กัมปนาท

    ReplyDelete
  6. เมื่อ จ. 30 เม.ย. 2550 @ 13:29 [243570] [ลบ]
    โห... ชัดเจนมากเลยค่ะน้องปรีดา มีรูปประกอบด้วย เป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆเยอะเลยค่ะ

    ขอบพระคุณค่ะ

    ReplyDelete
  7. เมื่อ พ. 02 พฤษภาคม 2550 @ 00:17 [245768] [ลบ]
    ตามมาอ่านอีกค่ะ เป็นประโยชน์และได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลย เห็นภาพแล้วมองออกทันที ขอบคุณค่ะ

    ReplyDelete
  8. ลูกเสือหมายเลข9 วันที่ : 26/07/2007 เวลา : 20.17 น.
    http://www.oknation.net/blog/chai
    <<==แวะไปทัก..แล้วคุณจะรักหนุ่มคนนี้



    เข้าใจแระ

    ReplyDelete
  9. ร.วัชรากร วันที่ : 28/07/2007 เวลา : 20.37 น.
    http://www.oknation.net/blog/watcharakorn



    เข้าใจค่ะ เพราะมีคนที่ต้องดูแลไม่ให้เป็นแผลกดทับเหมือนกัน

    ReplyDelete
  10. zuni วันที่ : 07/08/2007 เวลา : 10.58 น.
    http://www.oknation.net/blog/zuni



    ลำบากอีกหน่อย เพื่อผลดีต่อสุขภาพนะคะ สู้ๆค่ะ

    ReplyDelete
  11. อ่านบทความตอนนี้ ได้ความรู้ดี และเข้าใจคนพิการมากขึ้น

    ReplyDelete

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook