สวัสดีครับ ทุกคน ตอนนี้ผมขอนำเสนอรายละเอียดของท่ากายภาพบำบัด จากนักกายภาพบำบัด ที่ช่วยเขียนรายละเอียดให้ครับ
เป็นท่าออกกำลังกาย ที่ลดอาการเกร็งช่วงล่างของผม ที่นักกายภาพบำบัดจะต้องทำให้ทุกครั้ง
.........................................................................
การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อยึดติด โดยวิธีที่เรียกว่า Passive Exercise/ Passive Stretching Exercise ซึ่งเป็นการออกกำลังกายโดยมีผู้อื่นเป็นผู้ทำให้
ท่าเริ่ม ท่ากางข้อสะโพก
ท่ากางข้อสะโพก
ท่างอสะโพก-งอเข่า
ท่ากางขา-หุบขา ในท่างอเข่า-งอสะโพก
ท่างอสะโพก
ท่ากระดกข้อเท้า
หมายเหตุ :
1. ทำในท่าตรงข้าม กับอาการเกร็ง
2. ทำท่าตรงข้ามกับอาการเกร็ง
3. ยืดค้างไว้ 5-10 วินาที
4. ทำช้าๆ ท่าละประมาณ 10-15 ครั้ง/ set หรือขึ้นกับอาการตึง
5. ทำจังหวะสม่ำเสมอ
น้องเอ (นามสมมุติ)
นักกายภาพบำบัด
...........................................................................
ตอนนี้ก็สั้นๆ ง่ายๆ ครับ ผมจะนำท่ากายภาพบำบัด ที่มีภาพมาฝากในตอนต่อๆ ไปครับ
ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-314-7866
Tel. & Fax.: 02-924-2726
email : preeda.limnontakul@gmail.com
update : May 21, 2007
เป็นท่าออกกำลังกาย ที่ลดอาการเกร็งช่วงล่างของผม ที่นักกายภาพบำบัดจะต้องทำให้ทุกครั้ง
.........................................................................
การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อยึดติด โดยวิธีที่เรียกว่า Passive Exercise/ Passive Stretching Exercise ซึ่งเป็นการออกกำลังกายโดยมีผู้อื่นเป็นผู้ทำให้
ท่าเริ่ม ท่ากางข้อสะโพก
ท่ากางข้อสะโพก
ท่างอสะโพก-งอเข่า
ท่ากางขา-หุบขา ในท่างอเข่า-งอสะโพก
ท่างอสะโพก
ท่ากระดกข้อเท้า
หมายเหตุ :
1. ทำในท่าตรงข้าม กับอาการเกร็ง
2. ทำท่าตรงข้ามกับอาการเกร็ง
3. ยืดค้างไว้ 5-10 วินาที
4. ทำช้าๆ ท่าละประมาณ 10-15 ครั้ง/ set หรือขึ้นกับอาการตึง
5. ทำจังหวะสม่ำเสมอ
น้องเอ (นามสมมุติ)
นักกายภาพบำบัด
...........................................................................
ตอนนี้ก็สั้นๆ ง่ายๆ ครับ ผมจะนำท่ากายภาพบำบัด ที่มีภาพมาฝากในตอนต่อๆ ไปครับ
ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-314-7866
Tel. & Fax.: 02-924-2726
email : preeda.limnontakul@gmail.com
update : May 21, 2007
เอส สรวิชญ์
ReplyDeleteเมื่อ พฤ. 31 พฤษภาคม 2550 @ 01:47 [278046] [ลบ]
ได้อ่านกระทู้ของคุณแล้วรู้สึกว่าตัวเอง ด้อยค่าไปเลยครับ ยังไงก็เป็นกำลังใจให้นะครับ คุณต๋อง??? (ไม่แน่ใจว่าใช่ไหม) ก็จะเป็นกำลังใจให้ ผมเองก็ชอบเล่นตอนดึกๆ ถ้ามี Account ของ Hotmail ยังไง แอดมาคุยกับผมได้นะครับ
เอส
เพิ่งมีโอกาสผ่านมาแวะอ่านมาดู ผู้ไม่ท้อ บุญรักษาค้ะ
ReplyDeleteสวัสดีครับ ผมชื่อ ธีร์ นะครับ
ReplyDeleteพอดีได้อ่าน Blog ของคุณ ปรีดา ที่ http://preedastation.blogspot.com/2007/05/38-1.html เนื่องจากคุณแม่ เป็น อัมพฤกษ์ ครึ่ง ซีก และคุณหมอ แนะนำให้หานักกายภาพบำบัด ปัจจุบันกำลังนอนพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ. ตำรวจ
จึงขอเรียนสอบถามคุณ ปรีดา ดังต่อไปนี้
1. เราจะมีวิธีการคัดเลือกนักกายภาพบำบัด อย่างไร ครับ เพราะ วันก่อนไป ที่ รพ. ศิขรินทร์ ตรงแถว บางนา พอดี บ้านอยู่แถวบางนา ศ
รีนครินทร์ เข้าไปแล้ว สังเกตดูว่า นักกายภาพบำบัดที่มาทำที่บ้าน ส่วนใหญ่ จะอายุเยอะ 40 Up
แต่ก็คงใช้บริการ เพื่อให้ คุณแม่ออกไปนอกบ้าน พบปะ ผู้คนบ้าง และ ก็คง จะจัดหา นักกายภาพ ที่ มาทำให้ที่บ้านด้วย เนื่องจาก คุณแม่เป็น คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย และค่อนข้างดื้อ ไม่ค่อยเชื่อลูกลูก
คุณ ปรีดา มีนักกายภาพบำบัดที่ จะพอแนะนำได้ไหมครับ หรือ มีคำแนะนำเช่นไรบ้างครับ
2. จาก บทความ ตอนนี้ http://preedastation.blogspot.com/2007/04/blog-post_10.html และตอนนี้ http://preedastation.blogspot.com/2007/04/blog-post_20.html
ReplyDeleteผมจำเป็นต้องซื้อที่นอน ลม เพื่อป้องกันแผลกดทับ ดีไหมครับ มีความจำเป็น มาก หรือเปล่าครับ คือซื้อมาแล้ว กลัว คุณแม่ไม่นอน และ เห็นมีหลายรุ่น ผมควรจะซื้อรุ่นไหนดีครับ
3. มีคำแนะนำเพิ่มเติม เรื่องการจัด และ การซื้ออุปกรณ์ ต่างๆ ในบ้าน เพิ่มเติมไหมครับ เพราะ คุณแม่ จะกลับบ้านอาทิตย์ หน้า จะได้จัดหาและเตรียม ครับผม
สุดท้ายนี้ ขอให้ บุญ ที่ คุณปรีดา สละความรู้ ใน Blog ให้ รักษา คุณ ปรีดา ครับ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ธีร์ ปัณณธีร์
สวัสดีครับ คุณธีร์
ReplyDeleteกลับมาตอบคำถาม หลังจากที่ได้คุยกันทางโทรศัพท์ และยินดีที่ได้รู้จักกันนะครับ
ผมคิดว่าเหนือสิ่งอื่นใด คือการบำบัดจิตใจครับ คุณธีร์ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อขอคุณหมอที่ปรึกษาเพิ่มที่เป็น "จิตแพทย์" ครอบครัวคุณธีร์สามารถปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณหมอ และให้คุณหมอได้พูดคุยกับคุณแม่ ในการปรับทัศนคติ หรือควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง
ส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนไข้ ผู้ป่วย หรือคนที่กำลังจะพิการนั้น ก็คือ ใจที่มีความมุ่งมั่น มีสติ มีเป้าหมาย ในวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล เช่น ต้องเดินให้ได้เพื่อไปงานรับปริญญาลูก ต้องช่วยเหลือตัวเองให้ทานข้าวได้ จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่ต้องดูแล จะต้องลุกนั่งให้ได้เพื่อช่วยเหลือตัวเองไดบ้าง เป็นต้น คุณธีร์อาจจะต้องผลักดันให้คุณแม่มีเป้าหมายเล็กๆ ซึ่งต้องใช้ความพยายาม แต่อย่างไรก็ดี คงต้องปรึกษากับคุณหมอ "จิตเวช" ดีที่สุดครับ เพราะท่านมีประสบการณ์มากแน่นอน ผมก็มีประสบการณ์ตรงแค่ตัวผมเอง
เพราะผมก็ต้องค่อยๆ เริ่มเหมือนกัน
ReplyDelete*ผมจะตายไม่ได้ ยังมีอะไรที่ผมต้องทำอีกมาก
*ผมจะต้องกินอาหารอ่อนๆ ทางปากให้ได้ เพื่อให้ชีวิตตัวเองอยู่รอด
*ผมจะต้องขยับแขนให้ได้ เพื่อไม่ให้ข้อต่อต่างๆ ติดขัด เพราะจะทำให้ลำบากในอนาคต
*ผมต้องดูแลการขับถ่ายให้ดี ไม่อย่างนั้นจะมีปัญหาถึงระบบอื่นๆ ของร่างกาย
*ผมนอนมองมือทั้ง 2 ข้างของผมทุกวัน และพยายามต้องพลิกข้อมมือให้ได้ (ตอนนั้นแม้แต่พลิกข้อมมือยังทำไม่ได้)
*ผมจ้องมองที่นิ้วทั้ง 10 นิ้วของตัวเอง และขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ขอให้ดลบันดาลให้นิ้วผมขยับได้สักนิ้วก็ยังดี จึงหมั่นทำกายภาพบำบัดทุกวัน
*ผมพยายามใช้นิ้วโป้งซ้าย นิ้วเดียวในการทานข้าวเอง เพื่อไม่ต้องให้ใครมานั่งป้อนข้าว
*ผมพยายามทานน้ำให้ได้ตามปริมาณที่ควรจะทาน เพื่อป้องกันเรื่องการติดเชื้อ
ตอนนี้ผมคิดถึงขนาดที่ว่า ผมจะทำงานหาเงินมากๆ เพื่อตั้งเป็นงบประมาณให้ทุนงานวิจัย ทำหุ่นยนต์เลียนแบบช่วงล่างมนุษย์ เพื่อผมจะได้นำมาใช้กับตัวเอง และเดินได้ คือคล้ายๆ เป็นไซบอกซื (อะไรประมาณนั้น) ซึ่งจะทำให้เป็นการทำกายภาพบำบัดไปในตัว
เป็นต้น นะครับ ผมคิดว่า การตั้งเป้าหมายเล็กๆ ให้คุณแม่มีความพยายามในเรื่องเล็กๆ ที่มีความเป็นไปได้ ค่อยๆ ทำที่ละเรื่อง ท่านก็จะค่อยๆ เริ่มมีกำลังใจ และเป็นภาพรวมในที่สุด
ผมมีบทความที่อ้างอิงถึงคุณหมอจิตเวช ที่ลิงก์นี้ครับ
http://preedastation.blogspot.com/2007/04/blog-post_898.html
คุณปรีดาคิดและมีเป้าหมายในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายที่ชัดเจนมาก
Deleteเป็นเราคงนอนเป็นผักไปแล้ว คงนอนคิดโทษชะตากรรมซ้ำไปซ้ำมา
ผมแนะนำ 2 ที่นะครับ คือ นักกายภาพบำบัดที่มิชชั่น และศูนย์สิรินธร ส่วนที่ว่าอายุมากๆ ที่ รพ.ตำรวจอาจเป็น ผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด รึเปล่าครับ
ReplyDeleteผมคิดว่าจำเป็นครับ เพราะการที่คุณแม่ต้องมาเป็นแผลกดทับนั้น การรักษายุ่งยากมากๆ เสียเงงินมาก เสียเวลาก็มากครับ เพราะเวลาเป็นจะเรื้อรัง มีแต่เสียกับเสีย ป้องกันไว้ดีที่สุดครับ
ReplyDeleteติดต่อที่ซื้อได้ที่บทความนี้ครับ (ผมอยากให้คุณธีร์ อ่านเนื้อหาในบทความด้วยนะครับ แล้วจะเข้าใจว่าทำไมผมให้ซื้อที่นี่ครับ)
http://mailboxpreeda.blogspot.com/2009/02/10_06.html
คุณธีร์ และผู้เกี่ยวข้อง ควรสังเกตุจากการดูแลที่โรงพยาบาล เพราะสิ่งของเหล่านั้นละครับ ที่จำเป็นกับคุณแม่ของคุณธีร์ และที่สำคัญคือ ก็ปรึกษานางพยาบาล และคุณหมอด้วยก็จะดีครับ เพราะผมก็ copy มาจากโรงพยาบาลเหมือนกัน และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับคุณแม่ ที่บ้าน ให้มากที่สุดครับ
ReplyDelete"เกิดประโยชน์ แม้สักคนเดียว ก็มีคุณค่ามากพอแล้ว"
เป็นความตั้งใจเริ่มต้น ที่ผมได้เขียนบล็อกครับ
เช่นกันครับ ขอให้ความรู้สึกดันี้ กลับเป็นบุญ ย้อกลับไปให้เกิดสิ่งดีๆ กับคุณแม่ของคุณธีร์ ครับ
ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
086-314-7866