23 : ผู้ช่วยผู้ป่วย

คราวนี้ ผมขอกล่าวถึงคนรอบข้าง ที่คอยดูแลผม ซึ่งถือว่า มีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยทุพพลภาพมากๆ ไม่กล่าวถึงไม่ได้

แพทย์ ก็มีผู้ช่วยแพทย์ ผู้จัดการ ก็มีผู้ช่วยผู้จัดการ รมต. ก็มี รมช. แม้แต่พยาบาล ก็ยังมี ผู้ช่วยพยาบาล ดังนั้นผมจึงมี ผู้ช่วยผู้ป่วย ด้วยเหมือนกัน

คนแรกเป็นลูกพี่ลูกน้อง ผู้หญิง อายุเท่ากัน มาดูแล เพราะ ณ เวลานั้นยังไม่มัใครว่างที่จะมาดูแลได้

ต่อมา น้องสาวคนโตของผมก็สามารถแบ่งเวลา มาผลัดเปลี่ยนดูแล สลับกัน 2 คน จนผมกลับบ้าน

หลายเดือนต่อมา น้องสาวผมก็ลาออกจากงาน มาช่วยงาน และดูแลผมอย่างเต็มตัว ส่วนลูกพี่ลูกน้องก็ห่างออกไป เพราะก็ต้องดูแลงานของครอบครัวเช่นกัน

ล่วงเลยมา 4 ปีกว่า ก็มีเหตุการณ์หลายอย่างที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถ้ามองภายนอกแล้วอาจจะมีมุมมองว่าไม่ดีนัก แต่สำหรับผมแล้ว เป็นหนทางที่ถูกต้อง ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นไปในทิศทางที่ผมคิดว่า "ควรจะเป็นแบบนี้" ผมจึงได้มี ผู้ช่วยผู้ป่วยคนใหม่ ชื่อพี่ "บัว"

พี่บัว เป็นชาวอุบลฯ ที่มามีครอบครัวที่ศรีสะเกษ เข้ามาทำงานในพื้นที่กนุงเทพฯ-ปริมณฑล 10 กว่าปี เปลี่ยนงานมาหลายอย่าง จนได้มาเป็นคนดูแลคนป่วย ที่ศูนย์ฯ แห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี และแฟนของผมติดต่อมาให้ แต่เป็นเพราะศูนย์ฯ เอาเปรียบเรื่องรายได้ ผมจึงให้พี่ ออกจากศูนย์ฯ มาดูแลผมโดยตรง

ถึงตรงนี้ ผมขอเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย บางข้อ คือเรื่อง การหยุดงาน ลางาน หรืออีกนัยคือ ปกติผู้ทุพพลภาพต้องมีคนดูแลตลอด แม้แต่เวลานอน เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือแบบทันทีทันใด ซึ่งก็เกิดกับผมมาหลายครั้งแล้ว (ผมจะเล่าในตอนที่เกี่ยวข้อง ให้ได้ศึกษากันอีกที) แต่ในความเป็นจริง ถ้าคนดูแลไม่ได้เป็นญาติ หรือพี่น้องท้องเดียวกัน ก็จะต้องกลับบ้านต่างจังหวัด กลับไปหาครอบครัว เช่นกัน

ดังนั้น การที่ได้คนดูแล จากศูนย์ฯ เมื่อคนดูแลจะกลับบ้าน ทางศูนย์ฯ ต้องรับผิดชอบหาคนอื่นมาแทน ซึ่งจะทำให้การดูแลไม่ขาดช่วง แต่ข้อเสียคือ ถ้าเราได้คนดูแลดีแล้ว เมื่อเปลี่ยนคนกลับบ้าน ก็อาจจะไม่ได้คนเดิมมาดูแล หรือบางครั้งอาจถูกขอเพิ่มค่าใช้จ่าย ถ้าเขารู้ว่าเราต้องการคนนี้

แต่ถ้าเรามีคนดูแลที่ถูกใจ คนเดียว ถึงเวลาที่ต้องกลับบ้านต่างจังหวัด บางครั้งผมถึงกับต้องอดทนนิดหน่อย เช่น ไม่เช็ดตัว 3 วัน พอแกกลับมา ผมจะดีใจมาก นี่ก็เป็นข้อคิดที่ผมเลี่ยงไม่ได้ เป็นระยะๆ ตามฤดูกาล เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ดำนา เกี่ยวข้าว ลูกเปิดเทอม เป็นต้นครับ

ประสบการณ์เกี่ยวกับผู้ดูแลผม หรือ ผู้ช่วยผู้ป่วย ก็คงมีเท่านี้ก่อน ตอนหน้าผมขอพูดถึง สรุปความช่วยเหลือ หรือสิ่งที่ได้รับจากบริษัท Berli Jucker ครับ

ตอนนี้สั้นๆ ขอจบก่อนครับ 11

ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-314-7866

email : preeda.limnontakul@gmail.com
update : April 25, 2007

3 comments:

  1. เมื่อ พ. 02 พฤษภาคม 2550 @ 00:53 [245833] [ลบ]
    อ่านแล้วอมยิ้มเลยค่ะ กว่าจะเกริ่นเข้าผู้ช่วยคนป่วย อิ อิ ขนาดผู้ช่วยคนป่วยมีความสำคัญขนาดนี้เลยค่ะ ทำไมไม่ให้พยาบาลสอนวิธีเช็ดตัวให้กับแม่หรือน้องสาวค่ะ อยากรู้ค่ะ เผื่อเราไม่มีผู้ช่วยคนป่วยขึ้นมา ขอบคุณวันนี้ได้ความรู้ใหม่ ๆ เยอะจริง ๆ ค่ะ เพราะตอนแม่ป่วยราณีก็ดูแลทุกอย่างค่ะ

    ReplyDelete
  2. xpresso วันที่ : 26/07/2007 เวลา : 20.43 น.
    http://www.oknation.net/blog/xpresso
    The Power of Crack!! ขออภัยในความไม่สะดวก!

    สู้ๆครับ

    ReplyDelete
  3. zuni วันที่ : 07/08/2007 เวลา : 11.06 น.
    http://www.oknation.net/blog/zuni



    ค่ะ ได้อย่างเสียอย่างนะคะ

    ReplyDelete

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook