สวัสดีครับเพื่อนๆ นานๆ จะพิมพ์บทความเกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดสักที ครั้งนี้ก็มาทบทวนท่าเก่าๆ ในบทความที่เคยพิมพ์เมื่อหลายปีก่อน แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การเพิ่มน้ำหนักเป็น 3 กิโลกรัม หรือประมาณ 7 ปอนด์ และสำคัญที่สุด ตลอด 12 ปีที่ผมพิการรุนแรงมา ผมยังคงให้ความสำคัญกับการทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง อาจจะลดจำนวนวันลง แต่ไปชดเชยที่การดำเนินชีวิตแทน ดังนั้นนักกายภาพบำบัดที่ชื่อ น้องเอ (นามสมมุติ) ยังคงมาดูแลให้ตลอด 12 ปีที่ผ่านมาครับ
สิ่งที่ผมภูมิใจ คือ นักกายภาพบำบัด บอกกับผมว่า ผมให้ความสำคัญและดูแลตัวเองเรื่องกายภาพบำบัดได้ดีมาก จำได้ว่า มีช่วงระยะเวลาหนึ่งทีผมไม่ได้รับการดูแลจากน้องเอ เพราะผมย้ายบ้าน ทำให้ไกลจากเธอ น่าจะเกือบ 2 ปีเต็ม หลังจากที่พ้อมกลับมาบ้านคุณแม่ น้องเอสามารถมาดูแลได้เหมือนเดิม เธอยังชมว่า ผมดูแลข้อต่อต่างๆ ดีมาก ยังไม่มีจุดไหนที่ยึดติด ส่วนตัวจึงอยากให้เพื่อนๆ คนพิการรุนแรง หรือญาติที่อยู่ใกล้ชิด ให้ความสำคัญกับการทำกายภาพบำบัด ด้วยนะครับ เพราะหากเราดูแลสุขภาพดี เราจะลดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตลง และนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ผมสามารถทำงานได้มาก อันบเนื่องมาจากสุขภาพที่แข็งแรงครับ
และวันนี้ก็ขอนำท่ากายภาพบำบัดง่ายๆ 3 ท่า สำหรับช่วงบน ที่ผมสามารถทำเองได้ หรือเรียกว่า Active ได้เอง (Passive คือ การทำกายภาพบำบัดโดยที่คนพิการไม่มีส่วนร่วมครับ) ด้วยการนำน้ำหนักมาถ่วงพันรอบแขน ตามภาพข้างล่างครับ
ในเวลาเดียวกันที่ผมทำทั้ง 3 ท่า น้องเอ จะทำ Passive กางขา งอเข่า ดันข้อเท้า ยกขา ในลักษณะสลับด้านกับแขนที่ทำครับ เพื่อลดอาการเกร็ง และทำให้ข้อต่อจุดต่างๆ ไม่ยึดติดครับ
จากนั้นน้องเอ จะทำการงอนิ้ว เหยียดนิ้ว คลึงฝ่ามือ ถือเป็น Passive เช่นกัน และจะปิดท่ากายภาพบำบัด ด้วยการนอนคว่ำ ให้ผมวิดพื้น ท่านี้เป็น Active ลืมไปครับ ก่อนวิดพื้นน้องเอ จะยกขา (ไม่เคยเห็นเหมือนกันครับ) ให้ก่อนครับ
หวังว่าบทความนี้จะพอทำให้เพือนๆ เห็นความสำคัญของการทำกายภาพบำบัดครับ (ประโยคคุ้นๆ ว่าฝากบ่อยๆ 55555)
พิมพ์เมื่อ 6 ตุลาคม 2556
สิ่งที่ผมภูมิใจ คือ นักกายภาพบำบัด บอกกับผมว่า ผมให้ความสำคัญและดูแลตัวเองเรื่องกายภาพบำบัดได้ดีมาก จำได้ว่า มีช่วงระยะเวลาหนึ่งทีผมไม่ได้รับการดูแลจากน้องเอ เพราะผมย้ายบ้าน ทำให้ไกลจากเธอ น่าจะเกือบ 2 ปีเต็ม หลังจากที่พ้อมกลับมาบ้านคุณแม่ น้องเอสามารถมาดูแลได้เหมือนเดิม เธอยังชมว่า ผมดูแลข้อต่อต่างๆ ดีมาก ยังไม่มีจุดไหนที่ยึดติด ส่วนตัวจึงอยากให้เพื่อนๆ คนพิการรุนแรง หรือญาติที่อยู่ใกล้ชิด ให้ความสำคัญกับการทำกายภาพบำบัด ด้วยนะครับ เพราะหากเราดูแลสุขภาพดี เราจะลดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตลง และนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ผมสามารถทำงานได้มาก อันบเนื่องมาจากสุขภาพที่แข็งแรงครับ
และวันนี้ก็ขอนำท่ากายภาพบำบัดง่ายๆ 3 ท่า สำหรับช่วงบน ที่ผมสามารถทำเองได้ หรือเรียกว่า Active ได้เอง (Passive คือ การทำกายภาพบำบัดโดยที่คนพิการไม่มีส่วนร่วมครับ) ด้วยการนำน้ำหนักมาถ่วงพันรอบแขน ตามภาพข้างล่างครับ
ท่าที่ 1 ท่าเหยียดศอก
หลังจากเหยียดศอกตรง ก็พับข้อศอก ทำ 30 ครั้ง
ท่าที่ 2 ท่ากางแขน
กางแขนออกนอกเตียง
และผลักแขนเข้ามาอีกด้านให้ถึง ขอบลำตัว ทำ 30 ครั้ง
ท่าที่่ 3 ท่ายกแขน
เหยียดแขนข้างลำตัว
แล้วยกขึ้นข้างตัว ไปวางบนขอบเตียงเหนือศรีษะ ทำ 30 ครั้ง
ในเวลาเดียวกันที่ผมทำทั้ง 3 ท่า น้องเอ จะทำ Passive กางขา งอเข่า ดันข้อเท้า ยกขา ในลักษณะสลับด้านกับแขนที่ทำครับ เพื่อลดอาการเกร็ง และทำให้ข้อต่อจุดต่างๆ ไม่ยึดติดครับ
จากนั้นน้องเอ จะทำการงอนิ้ว เหยียดนิ้ว คลึงฝ่ามือ ถือเป็น Passive เช่นกัน และจะปิดท่ากายภาพบำบัด ด้วยการนอนคว่ำ ให้ผมวิดพื้น ท่านี้เป็น Active ลืมไปครับ ก่อนวิดพื้นน้องเอ จะยกขา (ไม่เคยเห็นเหมือนกันครับ) ให้ก่อนครับ
หวังว่าบทความนี้จะพอทำให้เพือนๆ เห็นความสำคัญของการทำกายภาพบำบัดครับ (ประโยคคุ้นๆ ว่าฝากบ่อยๆ 55555)
พิมพ์เมื่อ 6 ตุลาคม 2556
เยี่ยมจริงๆค่ะ คนปกติอย่างเรากลับจะไม่ได้ออกกำลังกาย
ReplyDeleteอยากเห็นท่าวิดพื้นค่ะ ถ่ายภาพไว้หรือเปล่าค่ะ
ขอเป็นครั้งหน้าที่มีจังหวะถ่ายครับ
Deleteสุดยอดมากเลยคะคุณปรีดา
ReplyDeleteขอบคุณครับที่เข้ามาให้กำลังใจ
Delete