ทุกวันนี้อากาศร้อนจัดมากขึ้นทุกวัน
โดยเฉพาะบ้านเรา ทั้งร้อนและแดดจัด
จนมีคำพูดว่า บ้านเรามีอยุ่แค่ 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน กับฤดูร้อนชิ..หาย
มีโรคที่มากับอากาศร้อนที่ควรระมัดระวัง ซึ่งเราอาจจะนึกไม่ถึงและมองข้ามไป
โรคลมแดด หรือที่การแพทย์เรียกว่า ฮีต สโตรก (Heat stroke)
เป็นภาวะวิกฤตของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้
โรคลมแดดเกิดจากการได้รับความร้อนมากเกิน
ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลัง หรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน
อาจเกิดขึ้นได้แม้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง
เป็นความผิดปกติที่รุนแรงมากที่สุด ทำให้สมองไม่ทำงาน
ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไต
รวมทั้งสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส
ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน
เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิต 17-70 เปอร์เซ็นต์
อาการสำคัญ ได้แก่ ตัวร้อนจัด เพ้อ หรือหมดสติ
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดลง ช็อก ผิวหนังแห้งและร้อน
ระดับความรู้สึกตัวลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว
กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก
โดยกลไกการทำงานของร่างกายหลังจากที่ได้รับความร้อน
จะมีการปรับตัวโดยส่งน้ำหรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน
เช่น สมอง ตับ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปหล่อเลี้ยง
จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้
ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ
สัญญาณสำคัญของโรคนี้คือ
ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ที่เป็นจะกระหายน้ำมาก ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้
หายใจเร็ว อาเจียน ต่างจากการเพลียแดด
หรือเป็นลมแดดทั่วไปที่จะพบมีเหงื่อออกด้วย
เมื่อเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที
ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาทันท่วงที จะทำให้เสียชีวิตได้
ในการช่วยเหลือผู้ที่มีอาการเป็นลมแดด
ให้นำผู้ที่มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง
เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ถอดเสื้อผ้าออก
ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้
เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน
หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด
และรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด
ในรายที่อาการยังไม่มากควรให้ดื่มน้ำเปล่าธรรมดามากๆ
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอันตรายจากอากาศร้อนจัด ได้แก่
การขาดการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศร้อน
ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงร่างกายขาดน้ำได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง
ที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ
ซึ่งมีผลขับสารโซเดียมออกจากร่างกาย
ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดปกติของระดับเกลือแร่ได้เร็วกว่าผู้อื่น
รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่อดนอน
เนื่องจากจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ
ส่วนผู้ที่ดื่มสุราหรือเบียร์ ร่างกายจะมีโอกาสสูญเสียน้ำ
และเกลือแร่สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม เพื่อขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย
นอกจากนี้เกิดอันตรายได้ในคนอ้วน เนื่องจากมีไขมันที่ผิวหนังมาก
ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฉนวนกันความร้อน
ทำให้คนอ้วนสามารถเก็บความร้อนได้ดี
ขณะที่การระบายความร้อนออกทำได้น้อยกว่าคนทั่วๆ ไป
นอกจากนี้บริเวณผิวหนังที่มีไขมันมากมักมีต่อมเหงื่อน้อยลงด้วย
ดังนั้น คนอ้วนจึงมีโอกาสเกิดปัญหาได้ง่าย
...
การปรับสภาพร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อน
ที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนจะต้องต้องดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
โดยปกติควรดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน
หากทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้
เพราะน้ำเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส
ในการสังเกตว่าร่างกายได้รับน้ำเหมาะสมหรือไม่
ให้สังเกตจากสีของปัสสาวะ ถ้าสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ
แต่ถ้าปัสสาวะสีเข้มขึ้น และปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ
ส่วนการออกกำลังกายสามารถกระทำได้ โดยค่อยๆ ออกกำลังกาย
และเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายขึ้นเรื่อยๆ
ในต่างประเทศเช่นสหรัฐมีรายงานข่าวการเสียชีวิตเนื่องจากโรคนี้ปีละ
ประมาณ 371 ราย สำหรับในบ้านเราอาจจะพูดถึงกันน้อยมาก
ทั้งๆที่เชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไม่น้อย
แต่ส่วนใหญ่ มักเป็นผู้สุงอายุ ก็จะมองเห็นเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจวาย
การทำงานของหัวใจล้มเหลวไป
เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ป้าเสลาก็ได้รับทราบข่าว เพื่อนบ้านคนหนึ่งซึ่งสูงอายุ
แต่ค่อนข้างจะขี้เหนียว อากาศร้อนจัดมาก
แต่ไม่ยอมเปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม
จนเกิดอาการเป็นลม ในลักษณะดังกล่าว
โชคดีที่แก้ไข ช่วยเหลือได้ทัน
กับอีกเรื่องหนึ่ง คือ การเสียชีวิตของเด็กที่ถูกทิ้งไว้ในรถ
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเด็กที่ถูกลืมทิ้งไว้ในรถเสียชีวิตจากขาดอากาศหายใจ
แท้จริงแล้วเด็กเหล่านี้เสียชีวิตจากความร้อนสูงเกินขนาด
ร่างกายคนเราจะควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายไว้ที่ประมาณที่ 37 องศาเซลเซียส
กลไกการควบคุมมีหลายอย่างเช่นหากอุณหภูมิภายนอกเย็นเกินไป
ร่างกายจะปิดกั้นการถ่ายเทความร้อนออกสู่ภายนอกโดยการหดรัดเส้นเลือด
ทำให้ปลายมือปลายเท้าซีด
มีการสร้างความร้อนภายในทดแทนโดยการสั่นของกล้ามเนื้อ
หากความร้อนภายนอกสูงมาก และแผ่รังสีเข้าสู่ร่างกาย
ร่างกายต้องกำจัดออกให้ทันเวลาโดยการสร้างเหงื่อ
และการขยายของเส้นเลือดส่วนปลายเพื่อระบายความร้อน
กลไกเหล่านี้ของร่างกายจะมีขีดจำกัดในการต่อสู้
เมื่อหนาวมากเกินไป หรือร้อนมากเกินไป
กลไกการควบคุมความร้อนของร่างกายก็เสียหาย
ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ
พ่อแม่ที่ปล่อยลูกไว้ในรถ ลงไปชอปปิ้ง
อาจเปิดเครื่องยนต์เปิดแอร์ไว้ แต่เครื่องเกิดดับขึ้นมา
ชั่วเวลาเพียงไม่นาน อุณหภูมิภายในรถจะสูงขึ้น
หากอุณหภูมิภายนอกสูงเช่นในเวลากลางวัน
ความร้อนจะยิ่งทวีคูณอย่างรวดเร็ว
อุณหภูมิภายในรถอาจสูงขึ้นถึง 5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 10 นาทีแรก
ในวันที่อากาศภายนอกประมาณ 32 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิภายในรถสามารถเพิ่มขึ้นถึง 51 องศาเซลเซียส
ได้ภายในเวลาเพียงยี่สิบนาที
ในเด็กอุณหภูมิภายในร่างกายจะปรับตัวต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่
ดังนั้นอุณหภูมิในร่างกายจะสูงเร็วกว่าผู้ใหญ่ถึงเกือบห้าเท่าตัว
ในประเทศสหรัฐมีรายงานการตายลักษณะนี้กว่า 25 รายต่อปี
ทั้งๆที่เป็นเมืองที่ไม่ร้อนเท่าบ้านเรา
ข้อมูลจาก ข่าวสด วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2550
และบทความของ
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ใน /www.csip.org
อ้างอิงจากหน้าเว็บ http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=3745.0
โดยเฉพาะบ้านเรา ทั้งร้อนและแดดจัด
จนมีคำพูดว่า บ้านเรามีอยุ่แค่ 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน กับฤดูร้อนชิ..หาย
มีโรคที่มากับอากาศร้อนที่ควรระมัดระวัง ซึ่งเราอาจจะนึกไม่ถึงและมองข้ามไป
โรคลมแดด หรือที่การแพทย์เรียกว่า ฮีต สโตรก (Heat stroke)
เป็นภาวะวิกฤตของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้
โรคลมแดดเกิดจากการได้รับความร้อนมากเกิน
ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลัง หรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน
อาจเกิดขึ้นได้แม้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง
เป็นความผิดปกติที่รุนแรงมากที่สุด ทำให้สมองไม่ทำงาน
ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไต
รวมทั้งสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส
ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน
เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิต 17-70 เปอร์เซ็นต์
อาการสำคัญ ได้แก่ ตัวร้อนจัด เพ้อ หรือหมดสติ
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดลง ช็อก ผิวหนังแห้งและร้อน
ระดับความรู้สึกตัวลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว
กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก
โดยกลไกการทำงานของร่างกายหลังจากที่ได้รับความร้อน
จะมีการปรับตัวโดยส่งน้ำหรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน
เช่น สมอง ตับ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปหล่อเลี้ยง
จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้
ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ
สัญญาณสำคัญของโรคนี้คือ
ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ที่เป็นจะกระหายน้ำมาก ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้
หายใจเร็ว อาเจียน ต่างจากการเพลียแดด
หรือเป็นลมแดดทั่วไปที่จะพบมีเหงื่อออกด้วย
เมื่อเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที
ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาทันท่วงที จะทำให้เสียชีวิตได้
ในการช่วยเหลือผู้ที่มีอาการเป็นลมแดด
ให้นำผู้ที่มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง
เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ถอดเสื้อผ้าออก
ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้
เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน
หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด
และรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด
ในรายที่อาการยังไม่มากควรให้ดื่มน้ำเปล่าธรรมดามากๆ
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอันตรายจากอากาศร้อนจัด ได้แก่
การขาดการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศร้อน
ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงร่างกายขาดน้ำได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง
ที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ
ซึ่งมีผลขับสารโซเดียมออกจากร่างกาย
ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดปกติของระดับเกลือแร่ได้เร็วกว่าผู้อื่น
รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่อดนอน
เนื่องจากจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ
ส่วนผู้ที่ดื่มสุราหรือเบียร์ ร่างกายจะมีโอกาสสูญเสียน้ำ
และเกลือแร่สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม เพื่อขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย
นอกจากนี้เกิดอันตรายได้ในคนอ้วน เนื่องจากมีไขมันที่ผิวหนังมาก
ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฉนวนกันความร้อน
ทำให้คนอ้วนสามารถเก็บความร้อนได้ดี
ขณะที่การระบายความร้อนออกทำได้น้อยกว่าคนทั่วๆ ไป
นอกจากนี้บริเวณผิวหนังที่มีไขมันมากมักมีต่อมเหงื่อน้อยลงด้วย
ดังนั้น คนอ้วนจึงมีโอกาสเกิดปัญหาได้ง่าย
...
การปรับสภาพร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อน
ที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนจะต้องต้องดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
โดยปกติควรดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน
หากทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้
เพราะน้ำเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส
ในการสังเกตว่าร่างกายได้รับน้ำเหมาะสมหรือไม่
ให้สังเกตจากสีของปัสสาวะ ถ้าสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ
แต่ถ้าปัสสาวะสีเข้มขึ้น และปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ
ส่วนการออกกำลังกายสามารถกระทำได้ โดยค่อยๆ ออกกำลังกาย
และเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายขึ้นเรื่อยๆ
ในต่างประเทศเช่นสหรัฐมีรายงานข่าวการเสียชีวิตเนื่องจากโรคนี้ปีละ
ประมาณ 371 ราย สำหรับในบ้านเราอาจจะพูดถึงกันน้อยมาก
ทั้งๆที่เชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไม่น้อย
แต่ส่วนใหญ่ มักเป็นผู้สุงอายุ ก็จะมองเห็นเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจวาย
การทำงานของหัวใจล้มเหลวไป
เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ป้าเสลาก็ได้รับทราบข่าว เพื่อนบ้านคนหนึ่งซึ่งสูงอายุ
แต่ค่อนข้างจะขี้เหนียว อากาศร้อนจัดมาก
แต่ไม่ยอมเปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม
จนเกิดอาการเป็นลม ในลักษณะดังกล่าว
โชคดีที่แก้ไข ช่วยเหลือได้ทัน
กับอีกเรื่องหนึ่ง คือ การเสียชีวิตของเด็กที่ถูกทิ้งไว้ในรถ
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเด็กที่ถูกลืมทิ้งไว้ในรถเสียชีวิตจากขาดอากาศหายใจ
แท้จริงแล้วเด็กเหล่านี้เสียชีวิตจากความร้อนสูงเกินขนาด
ร่างกายคนเราจะควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายไว้ที่ประมาณที่ 37 องศาเซลเซียส
กลไกการควบคุมมีหลายอย่างเช่นหากอุณหภูมิภายนอกเย็นเกินไป
ร่างกายจะปิดกั้นการถ่ายเทความร้อนออกสู่ภายนอกโดยการหดรัดเส้นเลือด
ทำให้ปลายมือปลายเท้าซีด
มีการสร้างความร้อนภายในทดแทนโดยการสั่นของกล้ามเนื้อ
หากความร้อนภายนอกสูงมาก และแผ่รังสีเข้าสู่ร่างกาย
ร่างกายต้องกำจัดออกให้ทันเวลาโดยการสร้างเหงื่อ
และการขยายของเส้นเลือดส่วนปลายเพื่อระบายความร้อน
กลไกเหล่านี้ของร่างกายจะมีขีดจำกัดในการต่อสู้
เมื่อหนาวมากเกินไป หรือร้อนมากเกินไป
กลไกการควบคุมความร้อนของร่างกายก็เสียหาย
ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ
พ่อแม่ที่ปล่อยลูกไว้ในรถ ลงไปชอปปิ้ง
อาจเปิดเครื่องยนต์เปิดแอร์ไว้ แต่เครื่องเกิดดับขึ้นมา
ชั่วเวลาเพียงไม่นาน อุณหภูมิภายในรถจะสูงขึ้น
หากอุณหภูมิภายนอกสูงเช่นในเวลากลางวัน
ความร้อนจะยิ่งทวีคูณอย่างรวดเร็ว
อุณหภูมิภายในรถอาจสูงขึ้นถึง 5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 10 นาทีแรก
ในวันที่อากาศภายนอกประมาณ 32 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิภายในรถสามารถเพิ่มขึ้นถึง 51 องศาเซลเซียส
ได้ภายในเวลาเพียงยี่สิบนาที
ในเด็กอุณหภูมิภายในร่างกายจะปรับตัวต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่
ดังนั้นอุณหภูมิในร่างกายจะสูงเร็วกว่าผู้ใหญ่ถึงเกือบห้าเท่าตัว
ในประเทศสหรัฐมีรายงานการตายลักษณะนี้กว่า 25 รายต่อปี
ทั้งๆที่เป็นเมืองที่ไม่ร้อนเท่าบ้านเรา
ข้อมูลจาก ข่าวสด วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2550
และบทความของ
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ใน /www.csip.org
อ้างอิงจากหน้าเว็บ http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=3745.0
No comments:
Post a Comment