สวัสดีครับ เพื่อนๆ ทุกคน
วันนี้ผมได้อ่านเจอข่าวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ประกันสังคมเพิ่มเติมจาก บทความตอน 52 : สปส.ย้ำผู้ทุพพลภาพที่ไม่ใช่ผู้ประกันตนใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้ ซึ่งมีการขยายความเพิ่มเติม จึงอยากให้เพื่อนๆ ลองอ่าน และได้ศึกษากันครับ
..............................
สปส.แจงผู้ทุพพลภาพที่ไม่ได้เป็น ผู้ประกันตนแล้วยังได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายเดือนและค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 2,000 บาท/เดือนตลอดชีวิต ถือเป็นสิทธิติดตัวผู้ทุพพลภาพตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม และสามารถใช้สิทธิบัตรทอง จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ว่าด้วยความเสมอภาค
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนัก งานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า จากข่าวที่ปรากฏตามสื่อรวมถึงบทความของน.พ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กล่าวถึงผู้ประกันตนทุพพลภาพใช้สิทธิบัตรทองไม่ได้ เหตุติด ขัดข้อกฎหมาย เนื่องจากยังได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมเดือนละ 2,000 บาทตลอดชีวิต และเสนอแนะว่าหากต้องการใช้สิทธิบัตรทอง ต้องแก้กฎหมายประกันสังคม หรือบอร์ดทั้ง 2 แห่ง ต้องหารือกันเพื่อขยายบริการ สำนักงานประกันสังคมขอชี้แจงทำ ความเข้าใจกับผู้ทุพพลภาพว่า ปัจจุบันสำนัก งานประกันสังคมให้ความคุ้มครองดูแลผู้ทุพพลภาพ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก เป็นผู้ประกันตนที่ผู้ทุพพลภาพ ก่อนวันที่ 30 มีนาคม 2538 มีจำนวน 410 ราย จะได้รับความคุ้มครองตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ ซึ่งจะได้รับสิทธิค่าบริการทางการแพทย์ และค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และเงินค่าทดแทนการขาดรายได้อัตรา 50% ของค่าจ้างเป็นรายเดือน ระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนทุพพลภาพเหล่านี้ใช้สิทธิครบ 15 ปีแล้ว ก็สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้
กลุ่มสอง เป็นผู้ประกันตนที่ผู้ทุพพลภาพหลังวันที่ 30 มีนาคม 2538 สำนักงานประกันสังคมได้แก้ไขกฎหมายเพื่อขยาย ความคุ้มครองผู้ทุพพลภาพออกไปตลอดชีวิต โดยตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ (ฉบับที่ 3 ) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2538 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2538 ได้รับสิทธิค่าบริการทางการแพทย์ และค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และเงินค่าทดแทนการขาดรายได้อัตรา 50% ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ปัจจุบันมีผู้ทุพพลภาพที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนแล้ว จำนวน 5,210 ราย ซึ่งสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเป็น สิทธิติดตัวผู้ทุพพลภาพไปตลอดชีวิตตามกฎหมายพระราชบัญญัติประกันสังคม
ดังนั้น สำนักงานประกันสังคมไม่สามารถ ไปจำกัดสิทธิของผู้ทุพพลภาพกลุ่มที่สองได้ หากต้องการใช้สิทธิอื่นที่นอกเหนือจากสิทธิประกันสังคม และผู้ทุพพลภาพที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว มีสถานะเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง จึงต้องได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพเสมือนประชาชนทั่วไปที่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
นายสุรินทร์ กล่าวว่าขณะนี้โรงพยาบาล 6 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลธนบุรี อู่ทองโรงพยาบาลนครธน โรงพยาบาลบี.แคร์เมดิคอลเซ็นเตอร์โรงพยาบาลวิภา ราม โรงพยาบาลวิภาวดี ปิยะราษฎร์ และโรงพยาบาลศุภมิตรขอยกเลิกสถานพยาบาลเครือข่ายที่รับบริการทางแพทย์ ในปี 51โดยผู้ประกันตนที่เลือกสิทธิ์กับโรงพยาบาลดังกล่าวไว้สามารถรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลดังกล่าว ได้ตามปกติเพียงแต่ไม่สามารถรับบริการจากสถานพยาบาลเครือข่ายของโรงพยาบาลเหล่านั้นได้เท่านั้น
เว้นแต่ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุหากผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ ให้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนตามอัตรา และหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ภายใน72 ชั่วโมงแรก แต่หากผู้ประกันตนท่านใดมีความประสงค์จะเปลี่ยนโรงพยาบาลก็สามารถยื่นแบบเลือกสถานพยาบาลเพื่อขอเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม2551
.........................................
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นะครับ รวมถึงตัวผมเองด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณสำหรับบทความนะค่ะ
ReplyDelete